ในกระบวนการก่อสร้าง ต่อให้ผู้ประกอบการจะเลือกใช้วัสดุคุณภาพดีมากเพียงใด แต่ถ้าขาดความแม่นยำเรื่อง ‘สูตรปูนเทพื้น’ ก็อาจส่งผลให้งานที่ออกมาไม่ได้มาตรฐานได้เช่นกัน ดังนั้น สูตรปูนเทพื้นจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อภาพรวมของการก่อสร้าง และสำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าสูตรปูนเทพื้นที่ดีต้องเป็นอย่างไร บทความนี้จะมาบอกให้ได้รู้กัน พร้อมข้อมูลที่ถูกต้องแบบนายช่างมืออาชีพ แถมเข้าใจง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามได้เลย
สูตรปูนเทพื้นคืออะไร?
สูตรปูนเทพื้น คืออัตราส่วนของส่วนผสมของปูนซีเมนต์ ทราย หิน และน้ำที่ใช้ในงานเทพื้น โดยปูนซีเมนต์ทำหน้าที่เชื่อมประสานทรายกับหินเข้าด้วยกัน โดยทรายจะทำหน้าที่เติมเนื้อให้คอนกรีตมีความแข็งแรง และหินทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต
สาเหตุที่จำเป็นต้องมีการคำนวณสูตรปูนเทพื้นอย่างเคร่งครัด นั่นก็เป็นเพราะว่าการเทปูนผิดสูตรอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลัง เช่น คอนกรีตไม่แข็งแรง แตกร้าวได้ง่าย พื้นผิวไม่เรียบ ทนทานต่อการใช้งานต่ำ ซึ่งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือแก้ไขเพิ่มเติมในอนาคตได้
สูตรปูนเทพื้นที่ควรทราบ
เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราจึงขออธิบายสูตรปูนเทพื้นที่ควรรู้ โดยใช้ปูนเทพื้นปริมาณ 1 ลบ.ม เป็นตัวตั้ง โดยส่วนผสมต่าง ๆ มีปริมาณดังต่อไปนี้
- ปูนซีเมนต์ = 300 กิโลกรัม (6 ถุง)
- หิน = 1,120 กิโลกรัม
- ทราย = 840 กิโลกรัม
- น้ำ = 130 ลิตร
สูตรปูนเทพื้นนี้จะทำให้ได้คอนกรีตที่มีความแข็งแรง 240 กก./ตารางเซนติเมตร ซึ่งเหมาะสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป เช่น เทพื้นคอนกรีต เทพื้นบ้าน เทพื้นลานจอดรถ เป็นต้น หากต้องการคอนกรีตที่มีความแข็งแรงมากกว่านี้ สามารถเพิ่มปริมาณปูนซีเมนต์ได้ โดยอัตราส่วนผสมทั่วไปสำหรับคอนกรีตที่มีความแข็งแรง 280 กก./ตารางเซนติเมตร คือ
- ปูนซีเมนต์ = 325 กิโลกรัม (6.5 ถุง)
- หิน = 1,120 กิโลกรัม
- ทราย = 820 กิโลกรัม
- น้ำ = 130 ลิตร
ทั้งนี้สูตรปูนเทพื้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการและลักษณะการใช้งาน เช่น หากต้องการคอนกรีตที่มีความยืดหยุ่นมากกว่านี้ สามารถเพิ่มปริมาณทรายได้ หากต้องการคอนกรีตที่มีความแข็งแรงมากกว่านี้ สามารถเพิ่มปริมาณปูนซีเมนต์ได้ เป็นต้น
นอกจากส่วนผสมเหล่านี้แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือ “ค่ายุบตัว” โดยค่ายุบตัวของคอนกรีตที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 5-10 เซนติเมตร โดยค่ายุบตัวที่น้อยหมายถึงคอนกรีตที่มีความข้นเหนียวและแข็งแรง ส่วนค่ายุบตัวที่มากจะหมายถึงคอนกรีตที่มีความเหลวและง่ายต่อการเท แต่อาจทำให้คอนกรีตไม่แน่นและแข็งแรงเท่าที่ควร
ขั้นตอนการผสมปูนเทพื้น
เมื่อมีสูตรปูนเทพื้นที่ถูกต้องอยู่ในมือแล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาลงมือผสมปูนเทพื้น ซึ่งก็ไม่ยาก เพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้
- เตรียมส่วนผสม: ให้ทำการวัดขนาดพื้นที่ว่าต้องใช้ปูนเทพื้นจำนวนกี่ลูกบาศก์เมตร จากนั้นก็มาคำนวณตามสูตรปูนเทพื้นในข้างต้น
- ป้อนส่วนผสมเข้าเครื่องแพล้น: หลังจากเตรียมส่วนผสมตามปริมาณที่กำหนดแล้ว จะต้องป้อนส่วนผสมเข้าเครื่องแพล้นเพื่อผสมให้เข้ากัน
- ผสมปูนเทพื้น: เครื่องแพล้นจะทำการผสมปูนเทพื้นให้เข้ากันเป็นเวลาประมาณ 5 นาที เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันดีและเนื้อปูนมีความสม่ำเสมอ
- เทปูนเทพื้น: เมื่อผสมปูนเทพื้นเรียบร้อยแล้ว จะต้องเทปูนลงบนพื้นที่เตรียมไว้
- ตบแต่งปูนเทพื้น: หลังจากเทปูนเทพื้นแล้ว จะต้องทำการตบแต่งปูนเทพื้นให้เรียบเสมอกัน
ข้อควรระวังในการเทปูน
- ควรทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อย ปรับระดับพื้นให้เสมอกัน และเทปูนให้ทั่วถึง โดยไม่ทิ้งพื้นที่ว่าง
- ไม่ควรเทปูนในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือหนาวจัด
- ควรเทปูนให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง
หมดกังวลเรื่องสูตรปูนเทพื้น หากมีตัวช่วยอย่าง O.C.R.
เมื่อได้ทราบแล้วว่าสูตรปูนเทพื้นสำคัญอย่างไร แต่หากใครไม่อยากปวดหัวเรื่องการผสมปูน สามารถซื้อแพล้นคอนกรีตเคลื่อนที่จาก O.C.R. ตัวช่วยที่จะทำให้การผสมปูนเป็นเรื่องง่าย ใส่ใจดูแลทุกกระบวนการ ทั้งก่อนการขาย ระหว่างการขายและหลังการขายอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีนโยบายใช้รถ Mobile Service กว่า 50 ทีมแทนการตั้งศูนย์ พร้อมวิ่งทั่วทั้งประเทศ ภายในรถมีอะไหล่ครบพร้อมซ่อม สามารถซ่อมได้ทันทีโดยไม่ต้องรออะไหล่ สนใจติดต่อ Call Center: 02-430-5555